Christmas gifts:

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

          เดิมห่วงอนามัยไม่มีสารหรือตัวยาที่จะช่วยออกฤทธิ์ในการคุมกำเนิด ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 70 มีการพัฒนาเอาสารออกฤทธิ์ช่วยคุมกำเนิดใส่ไว้ในห่วงอนามัย ได้อก่ ทองแดง และฮอร์โมนโปรเจสติน

กลไกการคุมกำเนิด     
       
          ห่วงอนามัยไม่ได้ยับยั้งการตกไข่ ดังนั้นหญิงผู้ใช้จะมีรอบเดือนเป็นธรรมชาติ ตัวห่วงอนามัยซึ่งอยู่ในโพรงมดลูกสามารถป้องกันได้โดย

          1.ป้องกันไม่ให้อสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่ได้ เนื่องจากสารออกฤทธิ์ เช่น ทองแดงทำปฏิกิริยากับเยื่อบุโพรงมดลูก  เกิดเป็นการอักเสบเฉพาะที่ ซึ่งจะมีการหลั่งสารต่างๆรวมทั้งมีการชุมนุมของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทั้งหมดทำให้อสุจิถูกทำลาย หรือคุณภาพด้อยลงมาก
          2.มีกระบวนการรบกวนการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว




วิธีใช้ห่วงอนามัย

          ห่วงอนามัยจำเป็นต้องใส่โดยแพทย์หรือพยาบาลที่ได้รับการอบรมและจำเป็นต้องใส่โดยปราศจากเชื้อ


คำแนะนำหลังการใส่ห่วงอนามัย

          1.การนัดมาตรวจหลังใส่ห่วงอนามัยครบ 1 เดือน หรือตามความเหมาะสม
          2.หลังใส่ห่วงอนามัยระยะแรกๆ อาจมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยบ้าง อาจมีตกขาวเพิ่มขึ้นหรือประจำเดือนอาจไม่เหมือนเดิม
          3.สอนให้ผู้รับบริจาคตรวจสายห่วงด้วยตัวเอง ตรวจเดือนละครั้ง หลังจากประจำเดือนหมดใหม่ๆ เพื่อตรวจสอบว่าห่วงยังอยู่ในมดลูกปกติ

ประสิทธิภาพ

          ห่วงอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดระยะยาวมีประสิทธิภาพในการใช้จริงใกล้เคียงกับประสิทธิภาพทางทฤษฎี จัดเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีปนะสิทธิภาพสูงมากเกือบเท่ากับยาฝังคุมกำเนิด มีอัตราการตั้งครรภ์ 0.5 ต่อสตรี 100 คนต่อปี

อาการข้างเคียง

          คือ อาการหน่วงท้องน้อย เนื่องจากมดลูกอาจมีอาการบีบตัวเป็นระยะแรกๆ มีตกขาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาเฉพาะที่ และอาจมีประจำเดือนออกมากและนานได้บ้างในบางราย เนื่องจากมดลูกบีบตัวมากขึ้นและมีการหลั่งสาร  prostaglandins เพิ่มมากขึ้น

ในปัจจุบันมีห่วงอนามัยใช้ในประเทศไทย 2 ชนิดคือ

          1.ห่วงอนามัยชนิดทองแดง ใช้คุมกำเนิด
          2.ห่วงอนามัยชนิดฮอร์โมน ใช้คุมกำเนิดและใช้ในหญิงที่มีประจำเดือนมามาก หรือปวดประจำเดือน



หน่วยอนามัยการเจริญพันธุ์และงานวางแผนครอบครัว
ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

02-4113011     02-4194736-7


0 ความคิดเห็น: